วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 6 มีนาคม 2558

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 8

การสอนแบบโครงการ (Project  Approach)

     โครงการ คือ การสืบค้นข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรเเก่การเรียนรู้จุดประสงค์ของโครงการ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อมากกว่าการเสาะเเสวงหาคำตอบที่ถูกต้อง
    

     วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
    
          ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
        ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
        ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
       ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน


ประโยชน์
       · เด็กจะได้เ้ห็นคุณค่าในตัวเอง เป็นเเนวทางให้เด็กได้พึ่งตนเองได้
      · เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างมีความสุข สนุกสนานเพราะเด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองชอบ
     · ส่งเสริมให้เด็กได้มีการทำงานอย่างมีเเบบแผน        
     · สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตจริง

การสอนเเบบมอนเตสเซอรี

  วิธีการจัดการเรียนการสอน
 เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง
  การเตรียม    = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
  การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน 
  ครูสาธิตให้เด็กดู 
  ขั้นนสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

    ประโยชน์

· มีพัฒนาการทุกด้านเต็มตามศักยภาพ
· มีระเบียบวินัย
·มีสมาธิในการทำงานรักความสงบ
· ควบคุมตนเองและพึ่งพาตนเองได้
· ทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น
· รู้สิทธิของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่น 
· มีมารยาทตามวัฒนธรรมที่ตนอาศัยอยู่
· รักอิสระและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
· รักสิ่งแวดล้อม


การสอนเเบบ STEM


   STEM คือการเรียนรู้

      วิชาวิทยาศาสตร์(Science)
      เทคโนโลยี (Technology)
      วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)
      คณิตศาสตร์ (Mathematics) 
      ซึ่งล้วนเป็นวิชาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความสามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในโลกศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความเป็นโลกาภิวัฒน์ ตั้งอยู่บนฐานความรู้และเต็มไปด้วยเทคโนโลยี อีกทั้งวิชาทั้งสี่เป็นวิชาทีมีความสำคัญอย่างมากกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และ ความมั่นคงของประเทศ

การสอนเเบบสมองเป็นฐาน

      BBL (Brain-based Learning) คือการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้

    ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 12 ข้อ ดังต่อไปนี้
     1)สมองเป็นกระบวนการคู่ขนาน    
     2)สมองกับการเรียนรู้  
     3)การเรียนรู้มีมาแต่กำเนิด
    4)รูปแบบการเรียนรู้ของบุคคล 
    5) ความสนใจมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ 
    6)สมองมีหน้าที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ 
    7)การเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
    8)การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทั้งแบบที่มีจุดมุ่งหมายและไม่ได้ตั้งใจ  
    9)การเรียนรู้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างความเข้าใจ 
   10)การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
   11)ส่งเสริมให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ 
   12)สมองของบุคคลมีความเท่าเทียมกัน

       กิจกรรมในห้องเรียน



เกณฑ์การแบ่งกลุ่ม
1 - 5       กลุ่มสตอเบอรี่
6 - 10     กลุ่มเชอรี่
11 - 15   กลุ่มแอปเปิล
15 - 20   กลุ่มลิ้นจี่
21 - 25   กลุ่มมะม่วง
วิธีดำเนินการ
   นำป้ายชื่อมาติด>>พิจารณาเกณฑ์การแบ่ง>>เลือกกลุ่ม>>นับจำนวนคนทั้งหมดที่มาเรียน>>นับจำนวนป้ายทั้งหมด>> นำเสนอด้วยภาพและสัญลักษณ์


ประเมินสภาพห้องเรียน

-   บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน มีการคิด         วิคราะห์อยู่ตลอดเวลา

ประเมินเพื่อน

- เพื่อนมีการคุยกันเสียงดังบ้าง ไม่ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เข้าเรียนสาย

ประเมินอาจารย์


- เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด ไม่ว่าจะเป็นการต่อรูปทรงการแต่งเพลงร่วมกันในห้องเรียน ทำให้ในการเรียนไม่น่าเบื่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น