วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 6 มีนาคม 2558

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 8

การสอนแบบโครงการ (Project  Approach)

     โครงการ คือ การสืบค้นข้อมูลอย่างลึกตามหัวเรื่องที่เด็กสนใจควรเเก่การเรียนรู้จุดประสงค์ของโครงการ คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับหัวข้อมากกว่าการเสาะเเสวงหาคำตอบที่ถูกต้อง
    

     วิธีจัดการเรียนการสอนมี 4 ระยะ คือ
    
          ระยะที่ 1 เริ่มต้นโครงการ เด็กจะร่วมกันคิดเรื่องที่สนใจ
        ระยะที่ 2 ระยะวางแผนโครงการ เป็นช่วงเวลาที่กำหนดจุดประสงค์ว่าต้องการเรียนรู้อะไร กำหนดขอบเขตเนื้อหา ระยะเวลาและวิธีการศึกษา
        ระยะที่ 3 ดำเนินโครงการตามที่กำหนดไว้ ที่เน้นระบวนการแก้ปัญหา จัดเป็นหัวใจของการสอนแบบโครงการ เพราะเด็กจะได้รับข้อมูลใหม่จากประสบการณ์ตรงหรือเป็นแหล่งข้อมูลพื้นฐานเพราะเด็กได้สนทนา พูดคุยกับบุคคล และสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้ ขณะเดียวกันเด็กสามารถค้นความรู้จากแหล่งข้อมูลรอง (Secondary Sources) เช่น การดูวีดีทัศน์ การอ่านหนังสือ เป็นต้น
       ระยะที่ 4 สรุปโครงการ ครูและเด็กร่วมวางแผนสรุปโครงการ เป็นขั้นตอนการประเมินโครงการ ทบทวนการปฏิบัติ และวางแผนโครงการใหม่ วิธีการสรุปโครงการอาจจะให้เด็กนำผลงานที่ได้รับมอบหมายมาแสดงต่อครูแล้วอภิปรายประเด็นปัญหา หรือให้เด็กนำเสนอผลงาน ในรูปของการจัดแสดง จัดเป็นนิทรรศการ หรือสาธิตผลงาน


ประโยชน์
       · เด็กจะได้เ้ห็นคุณค่าในตัวเอง เป็นเเนวทางให้เด็กได้พึ่งตนเองได้
      · เด็กเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง อย่างมีความสุข สนุกสนานเพราะเด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่ตนเองชอบ
     · ส่งเสริมให้เด็กได้มีการทำงานอย่างมีเเบบแผน        
     · สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตจริง

การสอนเเบบมอนเตสเซอรี

  วิธีการจัดการเรียนการสอน
 เน้นการเรียนรู้ตามลำดับขั้น ไม่ต้องการให้เด็กลองผิดลองถูก สร้างสมาธิ ความมั่นใจ ครูสามารถวินิจฉัยและแก้ปัญหาการเรียนรู้ของเด็กได้ โดยสาธิตและฝึกให้เด็กเรียนรู้และตัดสินใจด้วยตนเอง
  การเตรียม    = ครูเตรียมอุปกรณ์การศึกษาเด็กสามารถเข้าเรียนแบบคละอายุได้
  การดำเนินการ = ขั้นนำ เด็กเลือกอุปกรณ์การศึกษาตามความสนใจ ,ขั้นสอน 
  ครูสาธิตให้เด็กดู 
  ขั้นนสรุป ครูให้เด็กเก็บอุปกรณ์ ครูบันทึกความรู้ ครูบันทึกรายการอุปกรณ์

    ประโยชน์

· มีพัฒนาการทุกด้านเต็มตามศักยภาพ
· มีระเบียบวินัย
·มีสมาธิในการทำงานรักความสงบ
· ควบคุมตนเองและพึ่งพาตนเองได้
· ทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น
· รู้สิทธิของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่น 
· มีมารยาทตามวัฒนธรรมที่ตนอาศัยอยู่
· รักอิสระและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
· รักสิ่งแวดล้อม


การสอนเเบบ STEM


   STEM คือการเรียนรู้

      วิชาวิทยาศาสตร์(Science)
      เทคโนโลยี (Technology)
      วิศวกรรมศาสตร์(Engineering)
      คณิตศาสตร์ (Mathematics) 
      ซึ่งล้วนเป็นวิชาที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีความรู้ความสามารถที่จะดำรงชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในโลกศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความเป็นโลกาภิวัฒน์ ตั้งอยู่บนฐานความรู้และเต็มไปด้วยเทคโนโลยี อีกทั้งวิชาทั้งสี่เป็นวิชาทีมีความสำคัญอย่างมากกับการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และ ความมั่นคงของประเทศ

การสอนเเบบสมองเป็นฐาน

      BBL (Brain-based Learning) คือการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของสมองแต่ละช่วงวัย เป็นการนำองค์ความรู้เรื่องสมองมาใช้เป็นฐานในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้

    ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน 12 ข้อ ดังต่อไปนี้
     1)สมองเป็นกระบวนการคู่ขนาน    
     2)สมองกับการเรียนรู้  
     3)การเรียนรู้มีมาแต่กำเนิด
    4)รูปแบบการเรียนรู้ของบุคคล 
    5) ความสนใจมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ 
    6)สมองมีหน้าที่สร้างกระบวนการเรียนรู้ 
    7)การเรียนรู้ในสิ่งที่สนใจสามารถรับรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
    8)การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทั้งแบบที่มีจุดมุ่งหมายและไม่ได้ตั้งใจ  
    9)การเรียนรู้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างความเข้าใจ 
   10)การเรียนรู้เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 
   11)ส่งเสริมให้ผู้เรียนเผชิญกับสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ 
   12)สมองของบุคคลมีความเท่าเทียมกัน

       กิจกรรมในห้องเรียน



เกณฑ์การแบ่งกลุ่ม
1 - 5       กลุ่มสตอเบอรี่
6 - 10     กลุ่มเชอรี่
11 - 15   กลุ่มแอปเปิล
15 - 20   กลุ่มลิ้นจี่
21 - 25   กลุ่มมะม่วง
วิธีดำเนินการ
   นำป้ายชื่อมาติด>>พิจารณาเกณฑ์การแบ่ง>>เลือกกลุ่ม>>นับจำนวนคนทั้งหมดที่มาเรียน>>นับจำนวนป้ายทั้งหมด>> นำเสนอด้วยภาพและสัญลักษณ์


ประเมินสภาพห้องเรียน

-   บรรยากาศเย็นสบายเอื้ออำนวยต่อการเรียน  อุปกรณ์ในการสอนสะดวกพร้อมใช้งาน

ประเมินตนเอง

- มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมในห้องเรียน มีการคิด         วิคราะห์อยู่ตลอดเวลา

ประเมินเพื่อน

- เพื่อนมีการคุยกันเสียงดังบ้าง ไม่ตั้งใจฟังอาจารย์สอน เข้าเรียนสาย

ประเมินอาจารย์


- เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมใหม่ๆมาให้ทำตลอด ไม่ว่าจะเป็นการต่อรูปทรงการแต่งเพลงร่วมกันในห้องเรียน ทำให้ในการเรียนไม่น่าเบื่อ

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 7




ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมวันนี้ นำป้ายชื่อไปแปะในหัวข้อว่ามาเรียนกี่โมง  พร้อมกับวาดภาพประกอบเป็นรูปนาฬิกาว่ามา

กี่โมง เรียนเรื่อง ลำดับ ตัวเลข เวลา องค์ประกอบนาฬิกา โดยครูถ้าจะสอนเด็กในเรื่องนี้จะต้องออกแบบ

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

1.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ

2.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

3.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน

4.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM

5.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่

6.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง


                                                               
                                    เพลง นับนิ้วมือ

            นี้คือนิ้วมือของฉัน                   มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว

            มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว                   มือขวาก็มีห้านิ้ว

           นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า         นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ

           นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ                  นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ


ส่วนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ คือ กระบวนการจัด

ประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระ

ของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ความสำคัญ

1. ใช้ในชีวิตจริง ในชีวิตประจำวันสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์

กันกับศาสตร์ต่างๆผสมผสานกัน

2. ทำให้เกิดความสัมพันธ์ความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆเข้าด้วย

กันทำให้เกิดการถ่ายโอนประสบการณ์

3. ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆ

4. ตอบสนองความสามารถในหลายๆด้าน

5. สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน


ทักษะ

ได้กระบวนการคิดการแก้ไขปัญหา เเละได้ช่วยกันระดมความคิดใน

การตอบคำถามของอาจารย์ผู้สอน ได้กระบวนการคิดการทำงานเป็นกลุ่ม เเละได้ทักษะในการถามคำถามสอนโดยการใช้คำถาม เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการคิดคำตอบ โดยช่วยกันระดมความคิด จากหลายๆคำตอบ พื่อนำมาเรียบเรียงเป็นคำตอบที่สมบูรณ์ โดยอาจารย์จะรับฟังคำตอบอย่างมีเหตุมีผล เเละในคำตอบไหนที่ไม่สมบูรณ์อาจารย์ก็จะตอบคำตอบนั้นให้สมบูรณ์แบบครบถ้วน


วิธีการสอน

สอนโดยให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติทำจริง บรรยายมีการใช้คำถามให้

ได้คิดวิเคราะห์ ระดมสมองออกความคิดเห็น มี Power point 

ประกอบการบรรยาย

ประเมินห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาด กว้าง โต๊ะไม่ชำรุด มีโต๊ะเพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน 

อากาศเย็น

ประเมินตนเอง

มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนมาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังเวลาที่อาจารย์

กำลังสอน

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาสอนตรงเวลาแต่กายได้เหมาะสมสอนโดยอธิบายเนื้อหา

อย่างละเอียดมีการยกตัวอย่างประกอบที่เข้าใจง่ายและปล่อยตรง

เวลา

บันทึกการเรียนประจำวันศุกร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียน

ครั้งที่ 7




ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมวันนี้ นำป้ายชื่อไปแปะในหัวข้อว่ามาเรียนกี่โมง  พร้อมกับวาดภาพประกอบเป็นรูปนาฬิกาว่ามา

กี่โมง เรียนเรื่อง ลำดับ ตัวเลข เวลา องค์ประกอบนาฬิกา โดยครูถ้าจะสอนเด็กในเรื่องนี้จะต้องออกแบบ

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย


1.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ



2.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

3.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบสมองเป็นฐาน

4.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบSTEM

5.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบมอนเตสซอรี่

6.รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบเดินเรื่อง


                                                               

                                    เพลง นับนิ้วมือ


            นี้คือนิ้วมือของฉัน                   มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว

            มือซ้ายฉันมีห้านิ้ว                   มือขวาก็มีห้านิ้ว

           นับ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า         นับต่อมา หก เจ็ด แปด เก้า สิบ

           นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ                  นับหนึ่งถึงสิบจำให้ขึ้นใจ


ส่วนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ คือ กระบวนการจัด

ประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระ

ของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

ความสำคัญ

1. ใช้ในชีวิตจริง ในชีวิตประจำวันสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์

กันกับศาสตร์ต่างๆผสมผสานกัน

2. ทำให้เกิดความสัมพันธ์ความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆเข้าด้วย

กันทำให้เกิดการถ่ายโอนประสบการณ์

3. ลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆ

4. ตอบสนองความสามารถในหลายๆด้าน

5. สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน


ทักษะ


ได้กระบวนการคิดการแก้ไขปัญหา เเละได้ช่วยกันระดมความคิดใน

การตอบคำถามของอาจารย์ผู้สอน ได้กระบวนการคิดการทำงานเป็นกลุ่ม เเละได้ทักษะในการถามคำถามสอนโดยการใช้คำถาม เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกกระบวนการคิดคำตอบ โดยช่วยกันระดมความคิด จากหลายๆคำตอบ พื่อนำมาเรียบเรียงเป็นคำตอบที่สมบูรณ์ โดยอาจารย์จะรับฟังคำตอบอย่างมีเหตุมีผล เเละในคำตอบไหนที่ไม่สมบูรณ์อาจารย์ก็จะตอบคำตอบนั้นให้สมบูรณ์แบบครบถ้วน


วิธีการสอน

สอนโดยให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติทำจริง บรรยายมีการใช้คำถามให้

ได้คิดวิเคราะห์ ระดมสมองออกความคิดเห็น มี Power point 

ประกอบการบรรยาย

ประเมินห้องเรียน

ห้องเรียนสะอาด กว้าง โต๊ะไม่ชำรุด มีโต๊ะเพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน 

อากาศเย็น

ประเมินตนเอง

มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียนและฟังขณะที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินเพื่อน

เพื่อนมาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบตั้งใจฟังเวลาที่อาจารย์

กำลังสอน

ประเมินอาจารย์

อาจารย์มาสอนตรงเวลาแต่กายได้เหมาะสมสอนโดยอธิบายเนื้อหา

อย่างละเอียดมีการยกตัวอย่างประกอบที่เข้าใจง่ายและปล่อยตรง

เวลา

บันทึกการเรียนประจำวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 6



วามรู้ที่ได้รับจากการเรียน
เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  เทคนิค คือ จัให้เห็นเป็นรูปธรรม
นิทาน เพลง เกม คำคล้องจอง บทบาทสมมุติ การประกอบอาหาร ปริศนาคำทาย

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ของคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีทั้งหมด 6 สาระ
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
สาระที่ 2 การวัด
สาระที่ 3 เรขาคณิต
สาระที่ 4 พีชคณิต
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้


ตัดกระดาษ 1.5 x 1.5 นิ้ว จำนวน 10 ชิ้น

ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยม 10 อัน





ทักษะ

สถานที่ที่นักศึกษากลุ่ม 102 อยากไปมากที่สุดในวันหยุด






สรุปผล คือ สวนรถไฟ 3   คน

                  เกาะ         10  คน

                  น้ำตก        3   คน


วิธีการสอน   
 ใช้การสอบแบบบรรยายประกอบกับโปรแกรมMicrosoft 


Office Power Point  เน้นการมีส่วนร่วมในการถามตอบแลกเปลี่ยน

ความรู้ซึ่งกันและกัน 
    
ประเมินสภาพห้องเรียน
เทคโนโลยีภายในห้องเรียนพร้อมต่อการใช้งาน เก้าอี้เพียงพอต่อการเรียน 

ประเมินตนเอง

   เตรียมตัวมาเรียนมาเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย และมีการจดบันทึกในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน
เพื่อนมีส่วนร่วมในการระดมความคิดช่วยกันได้ดีหรือบางที่ไม่ตั้งใจฟัง


เมื่อเพื่อนนำเสนองาน  และการแต่งกายไม่สุภาพ


ประเมินอาจารย์

อาจารย์ให้ความเป็นกันเองการแต่งกายเหมาะสม และเป็นระเบียบเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น